🍄 บันทึกอนุทินครั้งที่10 🍄
วันอังคารที่ 3 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2563
เวลา 08:30-12:30 น.
👉👉 การเรียนรู้ครั้งที่1
🍄 บันทึกอนุทินครั้งที่10 🍄
วันอังคารที่ 3 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2563
เวลา 08:30-12:30 น.
👉👉 การเรียนรู้ครั้งที่1
🍕 สรุปบทความคณิตศาสตร์ 🍕
เรื่อง 9 สุดยอดวิธีที่จะช่วยพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับลูกน้อยของคุณ
🍰 เนื้อหาของบทความ 🍰
การเรียนคณิตศาสตร์จะง่ายดายเหมือนการนับเลขถ้าใช้เคล็ดลับเหล่านี้
เชื่อหรือไม่ว่าลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่จะเริ่มเรียนรู้คณิตศาสตร์ทันทีที่เขาได้เริ่มสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขา ทั้งการเรียกสี การจัดรูปทรง และการนับนิ้วหนึ่งถึงสิบเป็นทักษะทางคณิตศาสตร์ที่คุณสามารถปลูกฝังให้ลูกของคุณได้ตั้งแต่เนิ่นๆ
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องที่น่าเบื่อเพราะคุณพ่อคุณแม่สามารถเพิ่มทักษะคณิตศาสตร์ให้ลูกคุณได้ตอนที่กำลังเล่นในบ้านหรือตอนที่ออกไปเล่นข้างนอก นี่คือเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของลูกคุณดีขึ้น
เคล็ดลับในการกระตุ้นทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ในเด็กอ่อน
ให้ลูกของคุณนับขั้นบันได จำนวนบล็อกไม้ที่เป็นสีฟ้า รถของเล่น หรือแม้แต่ซีเรียลรูปดาวในถ้วย
ในฐานะที่คุณเป็นผู้ปกครอง คุณก็สามารถคาดหวังได้ว่าลูกตัวน้อยจะรู้เลข 0-10 ก่อนที่จะขึ้นอนุบาล ดังนั้นคุณสามารถสอนเขาได้ในทุกที่และทุกเวลา
การเดินเล่นในสวนก็มีบทเรียนคณิตศาสตร์ได้ถ้าคุณให้ลูกน้อยสังเกตตัวเลขที่อยู่ในป้ายร้านค้า ถนน ทะเบียนรถ และอื่นๆ คุณพ่อคุณแม่ถามเขาดู เขาจะได้คุ้นเคยกับการนับเลข
เวลาที่คุณพ่อแม่คุณแม่ต้องโทรหาเพื่อนหรือญาติ ให้ลูกของคุณลองกดหมายเลขโทรศัพท์ให้ วิธีนี้เป็นวิธีที่จะช่วยให้ลูกของคุณมีทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้นเพราะลูกน้อยจะได้ฝึกอ่านตัวเลขจากซ้ายไปขวา
หนังสือ ตาราง และบัตรคำศัพท์เป็นเครื่องมือที่ดีมากๆ ที่จะช่วยคุณในการสอนลูกน้อยนับเลขและแยกสี ลองใช้หนังสือ ตาราง และบัตรคำศัพท์ที่มีสีสบายตาและตัวอักษรใหญ่ๆ เพราะจะทำให้ลูกน้อยของคุณสนใจได้มากขึ้น
Auditory Learners เรียนรู้ด้วยเสียง
“1234 1234 567 567 มีทั้ง 8 และ 9 10 มีทั้ง 8 และ 9 10 นับอีกที นับอีกที”
เพลงนี้เป็นหนึ่งในเพลงสอนนับเลขที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสนุกไปกับลูกที่กำลังเรียนรู้เลขเบื้องต้น
นอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชันเพลงและวิดีโอที่ช่วยสอนคณิตศาสตร์ให้ลูกของคุณได้
การอบขนมไปด้วยกันเป็นวิธีที่ง่ายและอร่อยที่จะให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับปริมาณและหน่วยวัดน้ำหนัก โดยคุณพ่อคุณแม่เป็นคนอ่านสูตรและให้ลูกได้ใช้ถ้วยตวงและชามตวงส่วนผสม เมื่อทำเสร็จแล้วก็ได้สนุกไปกับการนับจำนวนคุกกี้แสนอร่อยด้วย
Physical Learners เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ
เมื่อเด็กอยู่อนุบาลหนึ่ง คุณพ่อคุณแม่สามารถคาดหวังได้ว่าลูกตัวน้อยจะสามารถจำและวาดรูปทรงได้แล้ว วิธีที่จะช่วยพัฒนาทักษะนี้ได้ขณะที่อยู่บ้านคือ เล่นรอบๆ บ้าน และปล่อยให้เขาหารูปทรงสี่เหลี่ยม วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปหัวใจบนจาน ลายพื้นกระเบื้อง ของเล่น และอื่นๆ ด้วยวิธีง่ายๆ คือ บอกรูปทรงที่คุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยเห็น รับรองว่าสนุกมาก
ปริศนารูปทรงและบล็อกไม้เป็นวิธีที่ช่วยให้เด็กรู้จักเรขาคณิตเบื้องต้นควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็กและความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ต้องทำให้ความสนใจในคณิตศาสตร์ของลูกๆ คุณเปล่งประกายโดยการใช้ของเล่นรูปทรงเรขาคณิตที่ทั้งน่าสนุกและมีสีสันร่วมกับพ่อและแม่อย่างพวกคุณ!
พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการคิดแบบนามธรรมของลูกๆ เมื่อใดก็ตามที่คุณพาเขาออกไปข้างนอก ลองมองหารูปร่างในธรรมชาติ เช่น กลีบดอกไม้ จำนวนจุดบนแมลงเต่าทอง ปลาในบ่อน้ำ และอื่นๆ
☕ สรุปบทความวิทยาศาสตร์ ☕
เรื่อง เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย “เทคนิคการเลือกและเล่านิทานให้ลูกรัก”
กิจกรรมที่แสนจะอบอุ่นในชั้นเรียนและในครอบครัว
👉👉 คลิกดูบทความที่นี่ 👈👈
🍰 เนื้อหาของบทความ 🍰
“การเล่านิทาน จริงๆ แล้วสามารถเล่าได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส เป็นกิจกรรมที่ทุกคนในครอบครัวสามารถมีส่วนร่วมได้” แต่เวลาก่อนนอน อาจเป็นเวลาที่สะดวกต่อการเล่านิทาน หลายครอบครัวจึงมักใช้เวลาก่อนนอนในการเล่านิทานให้บุตรหลานฟัง
เทคนิคการเลือกนิทานให้เด็ก ควรเลือกให้เหมาะกับวัย เช่น เด็กเล็ก เริ่มจากเรื่องราวสิ่งใกล้ตัวที่เขาชอบ เช่น สัตว์ ธรรมชาติ ภาพน่ารัก ๆ เลือกสีสัน และเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไป
เทคนิคการเล่านิทาน ในการเล่านิทาน จะต้องสร้างอารมณ์ร่วมในขณะที่เล่า มีการใช้โทนเสียงเวลาเล่า ปล่อยให้เด็กได้ใช้ความคิดไปกับผู้เล่าในขณะที่ฟังนิทาน การใช้เสียงต่าง ๆ จะทำให้เด็กได้สังเกตอารมณ์ของการใช้เสียง
นอกจากเสียงเล่าแล้ว ยังมีรูปแบบอื่นประกอบ เช่น หุ่นมือ หุ่นนิ้ว วาดไปเล่าไป ถ้ามีการใช้สื่อในบางโอกาส เด็กก็จะชอบ การนำของจริงที่เกี่ยวข้องกับนิทานมาให้เด็กดูประกอบการเล่านิทาน อาจทำให้เด็กอยากเกิดความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องที่เล่า ซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อมโยงต่อยอดประสบการณ์ภายหลังได้
นิทานบางเรื่องถึงเด็กจะอ่านไปแล้ว แต่เด็กปฐมวัยอยู่ในวัยที่ชอบฟังซ้ำๆ ซึ่งก็เกิดการเรียนรู้ตามมา “เด็กคนไหนที่มีโอกาสฟังนิทานเยอะ ก็จะเปิดประสบการณ์ได้เยอะ นิทานเรื่องเดียวเล่าได้ซ้ำๆ และเปิดมุมมองในการเรียนรู้ได้หลายแง่มุม”
นอกจากนั้น ข้อควรระวังในการเล่านิทาน ก็คือ “เวลาเล่านิทาน ถ้าเด็กมีความคิดใหม่ ๆ หรือคำพูดที่ไม่ตรงกับสิ่งที่พ่อแม่ต้องการหรือคาดหวัง ก็ไม่ควรปฏิเสธ เพราะจะปิดกั้นความคิด อาจทำให้เด็กขาดความมั่นใจ คือ อย่าเพิ่งไปบอกเด็กว่าไม่ใช่ อาจจะเฉยๆ ไปก่อน หรือมีวิธีพูดอย่างอื่น” ไม่ควรหยุดเล่ากลางคัน เพื่อผละไปทำอย่างอื่นในขณะที่เด็กมีความสนใจในเรื่องที่เล่า จะทำให้ความใฝ่รู้ของเด็กตรงนั้นสะดุด
ดร. อุไรวาส ปรีดีดิลก ฝากทิ้งท้ายว่า ในส่วนของคุณครูผู้สอนระดับปฐมวัยนั้น ปกติใช้นิทานในการเรียนการสอนอยู่แล้ว แต่อยากให้มองในการใช้นิทานเป็นสื่อในการพัฒนาเด็กหลายๆ ด้าน ไม่ใช่แต่เพียงด้านภาษาอย่างเดียว อยากให้สอดแทรกเรื่องอื่นเข้าไปด้วย ซึ่งครูสามารถใช้นิทานเป็นสื่อการเรียนการสอนได้เยอะแยะแตกแขนงมากมายหลายสาขาวิชา สามารถใช้นิทานเพื่อนำไปสู่การทำโครงงานเล็กๆ การทดลองเล็ก ๆ หรือการทำกิจกรรมในชั้นเรียน ทำให้เกิดทักษะหลากหลาย
นิทานเรื่องเดียวที่เล่าไปก็จะไม่จบไปในแค่นั้นแต่จะจุดประกายต่อยอดไปสู่การพัฒนาความคิดและทักษะอื่นๆ อีกมากมายได้
🥬 สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์ 🥬
เรื่อง การพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มี ต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่1
โรงเรียนบ้านวังหันน้้าดึง อ้าเภอคลองขลุง จังหวัดก้าแพงเพชร
ปริญญานิพนธ์
ของ
รัศมี อ่วมน้อย
👇👇👇👇
🍹 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 🍹
1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหา ความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่1 2. เพื่อใช้และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดย ใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดย
2.1 เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่1
2.2 ศึกษาจิตวิทยาศาสตร์หลังได้รับการจัดกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบสืบ เสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ปีที่1
2.3 ศึกษาระดับความสุขในการเรียนรู้หลังการใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ สืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่1
🍹 วิธีด้าเนินการวิจัย 🍹
การวิจัยในครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)โดยดาเนินการ ทดลองตามแบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน (One group pretest-posttest design)
🍹 ประชากร 🍹
ที่ใช้ในการวิจัยคือเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ของ กลุ่มโรงเรียนวังแขมวังยาง อ าเภอคลองขลุง จังหวัดก าแพงเพชร ส ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาก ำแพงเพชรเขต 2จำนวน 83คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยคือเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่1 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2557
จำนวน 14 คน โรงเรียนบ้านวังหันน้ าดึง อ าเภอคลองขลุง จังหวัดก าแพงเพชร ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาก าแพงเพชรเขต 2 ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากผู้วิจัย ปฏิบัติหน้าที่เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนบ้านวังหันน้ าดึง
🍹 ตัวแปรที่ศึกษา 🍹
1. ตัวแปรต้นได้แก่การใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมอง เป็นฐาน
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จิตวิทยาศาสตร์ และความสุขในการ เรียนรู้
🍹 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 🍹
1.แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน จ านวน 15หน่วย การเรียนรู้
2. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบทดสอบที่มีคำถามเป็นรูปภาพ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบมี3 ตัวเลือกมีเกณฑ์การให้คะแนน คือ ตอบถูกให้1 คะแนนตอบผิดให้0 คะแนนจ านวน 20 ข้อ
3. แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์เป็นแบบสังเกตพฤติกรรมที่บ่งชี้คุณลักษณะของจิตวิทยาศาสตร์โดย ครูผู้สอนเป็นผู้สังเกต และแบบประเมินตนเองวัดพฤติกรรมที่บ่งชี้คุณลักษณะของจิตวิทยาศาสตร์จ านวน 6 ด้าน คือสนใจใฝ่รู้ความมุ่งมั่นมีระเบียบและรอบคอบความมีเหตุผลความใจกว้างและความซื่อสัตย์
4. แบบวัดความสุขในการเรียนรู้ เป็นแบบสอบถามความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนที่แสดง ออกมาทั้งทางกายและใจต่อการท ากิจกรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นข้อค าถามและให้นักเรียนตอบจากภาพ ใบหน้า 3 แบบ ที่ตรงกับความคิด ความรู้สึกของนักเรียนมากที่สุด
🍭 สรุปผลการวิจัย 🍭
การพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่ มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่1 โรงเรียนบ้านวังหันน้ าดึง อ าเภอ คลองขลุง จังหวัดก าแพงเพชร ได้ด าเนินการตามขั้นตอนสรุปผลได้ดังนี้ 1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหา ความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ผู้วิจัยได้ด าเนินการสร้างตามขั้นตอนจนได้กิจกรรมจ านวน 15 หน่วยการเรียนรู้ และน าไปให้ผู้เชี่ยวชาญ พิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบต่างๆของกิจกรรมพบว่ากิจกรรมทั้ง 15 หน่วยการเรียนรู้ แล้ว น าไปหาประสิทธิภาพ พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.29/84.00 2. ผลการใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่1 มีผลคือ 2.1 ผลการเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการใช้กิจกรรม การ จัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 พบว่าทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2ผลการศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนที่มีต่อการเรียน โดยใช้กิจกรรมการจัด ประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2.3ผลของระดับความสุขในการเรียนรู้หลังการใช้กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่1 อยู่ในระดับมาก
🍫 บันทึกอนุทินครั้งที่9 🍫
วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ 2563
เวลา 08.30 - 12.30 น
👉👉 การเรียนรู้ครั้งที่1
🥑 บันทึกอนุทินครั้งที่8 🥑
วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ 2563
เวลา 08.30 - 12.30 น
👉👉 การเรียนรู้ครั้งที่1
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนอาจารย์ให้เข้าอบรมการบรรยายพิเศษ การเป็นครูยุค "New Normmal"
🥑 บันทึกอนุทินครั้งที่7 🥑
วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ 2563
เวลา 08.30 - 12.30 น.
👉👉 การเรียนรู้ครั้งที่1
คุณสมบัติหรือทักษะที่สำคัญ คือ 3R และ 8C ได้แก่
3R คือ Reading-อ่านออก, (W)Riting-เขียนได้, (A)Rithmatic-มีทักษะในการคำนวณ
8C คือ
Critical Thinking and Problem Solving : มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแก้ไขปัญหาได้
Creativity and Innovation : คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม
Collaboration Teamwork and Leadership : ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
Communication Information and Media Literacy : ทักษะในการสื่อสาร และการรู้เท่าทันสื่อ
Cross-cultural Understanding : ความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม
Computing and ICT Literacy : ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี ซึ่งเยาวชนในยุคปัจจุบันมีความสามารถด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอย่างมากหรือเป็น Native Digital ส่วนคนรุ่นเก่าหรือผู้สูงอายุเปรียบเสมือนเป็น Immigrant Digital แต่เราต้องไม่อายที่จะเรียนรู้แม้ว่าจะสูงอายุแล้วก็ตาม
Career and Learning Skills : ทักษะทางอาชีพ และการเรียนรู้
🍟 ประเมินอาจารย์ ตนเอง เพื่อน 🍟
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลา มีอุปกรณ์พร้อมที่จะสอน
ประเมินตนเอง
กระตือรือร้นในการเรียนและการทำงานที่อาจารย์มอบหมาย
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจทำงานกลุ่มให้ความร่วมมือกันทำให้การทำงาน
🥎 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 🥎
วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ 2563
เวลา 08.30 - 12.30 น.
👉👉 การเรียนรู้ครั้งที่1
🐣 อาจารย์ให้ออกแบบแล้วสร้างรูปเรขาคณิตจากไม้ขีดเล็กๆและดินน้ำมัน
🍉 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5 🍉
อาจารย์ให้เขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นชื่อตัวเอง ออกแบบตามที่ตัวเองต้องการให้สวยงาม และให้เพื่อนๆทุกคนกำหนดตัวเลขของตนเอง และให้เพื่อนๆช่วยกันทายว่าตัวเลขนั้นเกี่ยวข้องกับตัวเราเรื่องอะไร ซึ่งเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ให้เพื่อนเลขที่ 1-3 ออกไปสรุป วิจัย บทความ คลิปวีดีโอ คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
📊 ประเมิน อาจารยผู้สอน เพื่อนและตนเอง 📈
🌞 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 🌞
วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ 2563
เวลา 08.30 - 12.30 น.
👉👉 การเรียนรู้ครั้งที่1
รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย
🍬อายุ 3 ปี พัฒนาการด้านสติปัญญา 🍬
- สำรวจสิ่งต่างๆที่เหมือนกันและต่างกันได้
- บอกชื่อของตนเองได้
- ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
- สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องด้วยประโยคสั้นๆได้
- สนใจนิทานและเรื่องราวต่างๆ
🍬อายุ 4 ปี พัฒนาการด้านสติปัญญา 🍬
- จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
- บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
- พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
- สนทนาโต้ตอบเล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
🍬อายุ 5 ปี พัฒนาการด้านสติปัญญา 🍬
- บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
- บอกชื่อนามสกุลและอายุของตนเองได้
- พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
- สนทนาโต้ตอบบอกเล่าเป็นเรื่องราวได้
📌 ประเมินอาจารย์ ตนเอง เพื่อน 📊
ประเมินอาจารย์ 👩⚖
อาจารย์มาสอนตรงเวลา มีการเตรียมความพร้อมมาสอนได้ดี
ประเมินตนเอง 👧
มีความกระตือรือร้นในการมาเรียน ตั้งใจเรียน แต่งกายถูกระเบียบ
ประเมินเพื่อน 🧑👩
ตั้งใจฟังในเรื่องที่สอน แต่งกายถูกระเบียบไม่มีใครมาเรียนสาย
🕵♂🕵♂ สรุปวิจัยคณิตศาสตร์ 💱
เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย
โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรคเพื่อการเรียนรู้
ปริญญานิพนธ์
ของ
คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว
👉👉 ดูเอกสารวิจัย 👈👈
ความสำคัญของวิจัย 🍰
การวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางของการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยกระบวนวิธิของ ศิลปะรูปแบบต่างๆมาประยุกต์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยซึ่ง ผลการวิจัยจะเป็นแนวทางให้กับครู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ได้พัฒนารูปแบบการจัด ประสบการณใหม่ๆ ให้กับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและเกิดความ หลากหลายในวิชาการศึกษาสําหรับครูมากขึ้น
ขอบเขตของการวิจัย 🍹
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประชากรวิจัย ประชากรที่ใช้ ในการวิจัยครั้งน ี้เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่ง กําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตจํานวน 10 ห้องเรียน
📌📌 กลุ่มตัวอย่างการวิจัย 📌📌
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาล ละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งได้จากการจับฉลากมา 1 ห้องเรียนและได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยคัดเลือกเด็กที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายกำหนดเป็น กลุ่มทดลอง
ตัวแปรศึกษา